เกร็ดความรู้ข้าวไรซ์เบอร์รี

สรรพคุณของข้าวไรซ์เบอร์รี Rice Berry

          ข้าวไรซ์เบอร์รี เป็นข้าวสายพันธุ์ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระในระดับสูง มีสรรพคุณในการช่วยบำรุงสุขภาพ ทั้งยังช่วยทำให้เกิดการสร้างคอลลาเจน และลดการอักเสบที่ผิวหนัง ช่วยลดริ้วรอยและชะลอความแก่ ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรงต่าง ๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง และโรคสมองเสื่อมได้ 

          ข้าวไรซ์เบอร์รีเป็นอาหารสุขภาพที่ดีต่อทุกเพศทุกวัย สามารถรับประทานเพื่อบำรุงสุขภาพและทดแทนข้าวขาวหรือข้าวกล้องปกติได้ โดยหากผู้สูงวัยรับประทานเป็นประจำก็จะช่วยทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และช่วยบำรุงสายตาและระบบประสาทต่าง ๆ ได้ด้วย

          สตรีมีครรภ์หากรับประทานข้าวชนิดนี้ก็จะช่วยทำให้เด็กในครรภ์มีสุขภาพแข็งแรง ช่วยป้องกันไม่ให้เด็กเป็นโรคปากแหว่งเพดานโหว่ ช่วยควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกิดครรภ์เป็นพิษ และที่สำคัญยังมีธาตุเหล็กสูงเหมาะกับสตรีที่กำลังมีครรภ์ซึ่งต้องการแร่ธาตุชนิดนี้มากกว่าคนปกติ

          นอกจากนี้ข้าวไรซ์เบอร์รียังสรรพคุณช่วยควบคุมระดับน้ำตาลและควบคุมน้ำหนักได้อีกด้วย เหมาะกับผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคอ้วนอย่างยิ่ง สำหรับผู้ที่เป็นโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก หากรับประทานข้าวชนิดนี้เป็นประจำก็จะทำให้ได้ธาตุเหล็กซึ่งเป็นแร่ธาตุที่สำคัญต่อระบบเลือด และช่วยและบำรุงโลหิตและร่างกายให้แข็งแรง คุณสมบัติเด่นทางด้านโภชนาการ คือมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ได้แก่ เบต้าแคโรทีน แกมมาโอไรซานอล วิตามินอี แทนนิน สังกะสี และโฟเลตสูง มีดัชนีน้ำตาลต่ำ-ปานกลาง 

คุณค่าทางโภชนการ


สารอาหารสำคัญที่อยู่ในข้าวกล้องไรซ์เบอรี่ ประกอบด้วยโอเมก้า 3 มีอยู่ 25.51 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม กรดไขมันจำเป็น มีบทบาทสำคัญต่อโครงสร้างและการทำงานของสมอง ตับและระบบประสาท ลดระดับคอเลสเตอรอล ธาตุสังกะสี 31.9 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ช่วยสังเคราะห์โปรตีน สร้างคอลลาเจน รักษาสิว ป้องกันผมร่วง กระตุ้นรากผม, ธาตุเหล็ก 13-18 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สร้างและจ่ายพลังงานในร่างกาย เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง และเป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้ออกซิเจนในร่างกาย และสมอง

วิตามินอี 678 ug ต่อ 100 กรัม ชะลอความแก่ ผิวพรรณสดใส ลดอัตราเสี่ยงของโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดสมองและหัวใจ ทำให้ปอดทำงานดีขึ้น, วิตามินบี 1 มีอยู่ 0.42 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จำเป็นต่อการทำงานของสมอง ระบบประสาท ระบบย่อย ป้องกันโรคเหน็บชา, เบต้าแคโรทีน (สารตั้งต้นของวิตามินเอ) 63 ug ต่อ 100 กรัม ชะลอความแก่ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง บำรุงสายตา
ลูทีน 84 ug ต่อ 100 กรัม ป้องกันจอประสาทตาเสื่อม บำรุงการไหลเวียนของเลือดในเส้นเลือดฝอยที่หล่อเลี้ยงตา โพลิฟีนอล 113.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ทำลายฤทธิ์ของอนุมูลอิสระ ป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง
แทนนิน 89.33 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม แก้ท้องร่วง แก้บิด สมานแผล แผลเปื่อย แกมมา โอไรซานอล 462 ug ต่อ 100 กรัม ลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในหลอดเลือด ทำให้เลือดหมุนเวียนไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่างๆ ได้อย่างเป็นปกติ ลดอัตราเสี่ยงของโรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง สมองเสื่อม
นอกจากนี้ เส้นใยอาหาร (fiber) มีอยู่ปริมาณมากในข้าวกล้องไรซ์เบอร์รี่ ช่วยลดระดับไขมันและคอเลสเตอรอล ป้องกันโรคหัวใจ ช่วยควบคุมน้ำหนัก ช่วยระบบขับถ่าย

ข้าวไรซ์เบอร์รียังมีคุณประโยชน์อีกมากมาย เพราะนอกจากแร่ธาตุต่าง ๆ ที่สำคัญต่อร่างกายแล้ว ข้าวชนิดนี้ยังมีไฟเบอร์สูง ซึ่งช่วยลดระดับไขมันและคอเลสเตอรอล ช่วยทำให้ระบบขับถ่ายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้อีกด้วย


วิธีหุงข้าวไรซ์เบอร์รี ให้อร่อย


ข้าวไรซ์เบอร์รีจัดเป็นข้าวกล้องชนิดหนึ่ง ดังนั้นหากต้องการหุงให้อร่อยก็ควรที่จะนำไปผสมกับข้าวหอมมะลิเพื่อให้ข้าวที่รับประทานเหนียวนุ่มมากขึ้น แต่ถ้าหากต้องการหุงข้าวชนิดนี้เพียงอย่างเดียวก็ควรจะใช้สัดส่วนดังนี้ ข้าว 1 ส่วน : น้ำ  1.5 ส่วน โดยหุงต้มประมาณ 35 นาที แล้วปิดฝาทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที ก็จะได้รับประทานข้าวไรซ์เบอร์รีที่นุ่มและมีสีสันน่ารับประทาน 


          ข้าวไรซ์เบอร์รีเป็นธัญพืชที่ดีต่อสุขภาพจริง ๆ นะคะ ต้องชื่นชมนักวิจัยของไทยเราที่สามารถนำข้อดีของข้าวทั้งสองพันธุ์มาผสมกันจนได้ข้าวพันธุ์ใหม่อย่างไรซ์เบอร์รี ทำให้เราสามารถรับประทานข้าวที่เปี่ยมไปด้วยคุณค่าทางอาหารแบบนี้ ดังนั้นถ้าหากใครที่กำลังมองหาธัญพืชที่มีคุณค่าทางอาหารสูงอยู่ละก็ อยากให้ลองข้าวไรซ์เบอร์รีดูนะคะ รับรองว่านอกจากคุณค่าอาหารที่ได้รับแล้ว ยังจะได้รับประทานข้าวที่อร่อยและเหนียวนุ่มอีกด้วยละค่ะ 


ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก : http://tulipgoldenplace.blogspot.com

http://www.thaihealth.or.th/Content/6908-ประโยชน์ของ%20’ข้าวไรซ์เบอร์รี่’.html
http://health.kapook.com/view99263.html

ห้องพัก http://tulipgoldenplace.blogspot.com